• Home
  • / News
  • / Collaborative Innovation: นวัตกรรมบนพ...

Collaborative Innovation: นวัตกรรมบนพื้นฐานของความร่วมมือ

Post Date : 18 April 2023

Collaborative Innovation เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทหลายแห่งเริ่มเห็นถึงประโยชน์ของการร่วมมือกับองค์กรธุรกิจอื่น ๆ สถาบันการศึกษา และองค์กรวิจัยภาครัฐ โดยผ่านกระบวนการที่เปิดโอกาสให้เกิดทํางานร่วมกันในสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บริการและโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับตลาด

Collaborative Innovation คืออะไร?

Collaborative Innovation จะเกิดขึ้นเมื่อมีองค์กรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปที่ทํางานร่วมกันเพื่อสร้าง Solution นวัตกรรม สินค้า/บริการใหม่ โดยสามารถทําได้ในหลายรูปแบบ อาทิ โครงการวิจัยและพัฒนาร่วม การร่วมใช้ผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรในการการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นต้น

ข้อดีของการทำงานในรูปแบบนี้คือช่วยให้องค์กรสามารถนำจุดแข็งและทรัพยากรรวมเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทด้านเทคโนโลยีอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ที่ใช้เซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์ขั้นสูงเพื่อตรวจสอบสุขภาพของผู้ป่วย ด้วยการผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการดูแลสุขภาพทั้งสององค์กรสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเองหรือต้องใช้เงินลงทุนที่สูงหากต้องทำด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ Collaborative Innovation ยังเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรในอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • การเข้าถึงความเชี่ยวชาญและทรัพยากรใหม่ ที่องค์กรอาจไม่มี ทําให้บริษัทสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมได้มากขึ้น
  • ลดต้นทุนและความเสี่ยง แน่นอนว่าการร่วมมือกับองค์กรถือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยในการกระจายต้นทุนและความเสี่ยงของนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี
  • เวลาออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นผ่านความร่วมมือในการพัฒนาและการร่วมใช้ทรัพยากรจากหลากองค์กร ทำให้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการให้ออกสู่ตลาดทำได้เร็วขึ้น
  • ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทําให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าและตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในต้นทุนที่ต่ำลง

อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จาก Collaborative Innovation จําเป็นต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการทํางานร่วมกัน การสื่อสารแบบเปิด และต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกันในการดำเนินโครงการ องค์กรต้องมีการกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของพันธมิตรแต่ละราย และพัฒนาแผนสําหรับการร่วมใช้ทรัพยากร

Collaborative Innovation ยังต้องการการจัดการโครงการและการกํากับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการกําหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน การกําหนดระยะเวลาและ Milestone การกําหนดกรอบการตัดสินใจ และการจัดการกับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ปัจจัยสู่ความสําเร็จของ Collaborative Innovation คือการสร้างความไว้วางใจ และการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพันธมิตร ด้วยการสื่อสารอย่างเปิดเผย การแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากร และสร้างวัฒนธรรมบนพื้นฐานของความเคารพและความรับผิดชอบร่วมกัน

Collaborative Innovation จะเป็นกระบวนการที่มีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรม หลักการที่ได้นำเสนอไปข้างต้นนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนการเติบโตและความสามารถในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่รวดเร็วในปัจจุบัน

กดติดตาม EECi เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0-2564-8000  email: info@eeci.or.th

=================================

Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)

Integrate Technologies, Accelerate Innovation

https://www.eeci.or.th/th/home

=================================

ที่มา:

Collaborative Innovation: Definition, Benefits, and Best Practices (Innovation Management)

footer-shape