th | en
th | en

บริการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ @สำนักงานใหญ่ EECi จ.ระยอง

บริการด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

ความท้าทายของยุคสมัยที่ขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านและการบริหารจัดการ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC: Sustainable Manufacturing Center ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะความสามารถของผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้เพื่อนำไปสร้างมูลค่า ต่อยอด และพัฒนาให้ก้าวทันต่อยุคสมัย โดยปัจจุบันมีหลักสูตรฝึกอบรม ดังนี้

ทักษะเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0

  1. Industrial Automation Systems 
    1. Mechatronics & PLC
    1. Robot Assembly Systems
    1. SCADA & OEE 
  2. EV Conversion: ความรู้เบื้องต้นในการดัดแปลงรถยนต์ให้เป็นรถไฟฟ้า
  3. EV Charging Station: สถานีประจุไฟฟ้าเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า
  4. Machine Vision for 2D Quality Inspection 
  5. การใช้ Edge Computing Platform เพื่อลดเวลาการเข้าถึงข้อมูลภายในโรงงานอุตสาหกรรม
  6. Industrial Internet of Things
  7. เจาะลึกเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้า
  8. Robot Visual AI: การนำหุ่นยนต์มาพัฒนากับระบบ AI
  9. AMR Development: การพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
  10. Lean Flow (Layout Design Software): การออกแบบแผนผังการจัดวางเครื่องจักร และอุปกรณ์ของกระบวนการผลิต
  11. URCONNECT: เรียนรู้การใช้หน่วยตรวจวัดระยะไกล
  12. Introduction to Thailand i4.0 index
  13. Plant & Process Simulation 

ทักษะเชิงการจัดการในยุคอุตสาหกรรม 4.0

  1. Preparation for BOI Thailand: สอนวิธีเตรียมเอกสารยื่น BOI มาตรการ Industry 4.0

2. Design Thinking for Factory: การออกแบบเชิงความคิดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

3. Industrial Economics: เศรษฐศาสตร์อุตสาหการ

4. Marketing-Driven Technology: เทคโนโลยีการตลาดสำหรับการขับเคลื่อนข้อมูล

5. Smart Factory: โรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

6. Lean Excel Production: ลดต้นทุนโรงงานด้วยโปรแกรม Excel

7. Communication Skills for Industry 4.0: ทักษะการสื่อสารสำหรับภาคอุตสาหกรรม 4.0

8. Negotiation & Networking for Industry 4.0: การเจรจาต่อรองและการสร้างเครือข่ายสำหรับภาคอุตสาหกรรม 4.0

ทักษะเชิงเทคนิคเกี่ยวกับเกษตรดิจิทัล

1. ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ

2. ระบบบริหารจัดการข้อมูลฟาร์ม

3. การใช้งานปฏิทินเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต

นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC ต้องการใช้ความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แบบเจาะจง เพื่อให้ตรงกับความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ด้วยการเพิ่มและพัฒนาทักษะด้านความรู้เชิงเทคนิคและการจัดการ เพื่อตอบโจทย์การ Upskill และ Reskill ให้กับบุคลากรในองค์กร SMC สามารถให้บริการจัดฝึกอบรมเฉพาะหน่วยงาน (Private Training) ได้อีกด้วย โดยมีหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร ดังนี้

     อุตสาหกรรม 4.0 : สถานภาพ โอกาส ความพร้อม และความท้าทายของประเทศไทย

  1. นิยามและตัวอย่างของต่างประเทศ
  2. สถานภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 และตัวอย่างของประเทศไทย
  3. โอกาสของประเทศไทยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0
  4. การวัดความพร้อมการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
  5. Thailand I4.0 Index

     Industrial IoT : การประยุกต์และกรณีศึกษาเชิงประจักษ์

  1. ความเป็นมา นิยาม และความหมายของ Industrial IoT 
  2. บทบาทของ Industrial IoT ในอุตสาหกรรมการผลิต
  3. Learning Factory (NECTEC)
  4. Smart Factory และกรณีศึกษา

     Industrial AI : การประยุกต์และกรณีศึกษาเชิงประจักษ์

  1. ต้นกำเนิดและพัฒนาการของ AI 
  2. การใช้ AI ใน Autonomous Mobile Robot
  3. การใช้Visual Inspections, 3D Inspections สำหรับช่วยหุ่นยนต์ทำงานกับชิ้นงานที่มีรูปร่างไม่คงที่
  4. การวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์ Industrial IoT เพื่อตรวจจับความผิดพลาดของเครื่องจักร และปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต
  5. งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

     EV Conversion : ความรู้เบื้องต้นในการดัดแปลงรถยนต์ให้เป็นรถไฟฟ้า

  1. ข้อดีและความเป็นมาของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง
  2. ภาพรวมวิธีการดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ
  3. เรียนรู้อุปกรณ์หลักๆที่ใช้ในการดัดแปลง
  4. ตัวอย่างการดัดแปลง

     EV Charging Station : สถานีประจุไฟฟ้าเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า

  1. การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันระหว่างสถานีประจุไฟฟ้ากับยานยนต์ไฟฟ้า
  2. การทำงานระหว่างผู้ให้บริการระบบควบคุมและบริหารจัดการระบบอัดประจุไฟฟ้าและสถานีประจุไฟฟ้า
  3. แผนผังและส่วนประกอบของสถานีประจุไฟฟ้าเบื้องต้น

     เจาะลึกเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

  1. เทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
  2. การอ่านและเลือกคุณสมบัติของมอเตอร์ไฟฟ้า มาใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า
  3. ข้อพิจารณาในการเลือกขนาดมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (Sizing of the Electric motor)
  4. กรณีศึกษา (Case study) การเลือกมอเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสม และ การเลือกมอเตอร์ไฟฟ้าไม่เหมาะสม
  5. สรุป Flowchart การเลือกมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

    HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ

  1. ที่มาของการพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ
  2. การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะเพื่อเกษตรกร
  3. วิธีการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการเกษตร
  4. จุดเด่นของการใช้ระบบเกษตรแม่นยำ
  5. การเปรียบเทียบต้นทุนการเกษตรแบบเดิมกับการใช้ระบบ HandySense และการคำนวณจุดคุ้มทุน

Design Thinking for Factory การออกแบบเชิงความเชิงความคิดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 

  1. Concept หลักการ ที่มาของ Design Thinking 
  2. กระบวนการของ Design Thinking 
  3. การประยุกต์ใช้ Design Thinking ให้เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม
  4. กรณีศึกษา การใช้ Design Thinking ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

รวมไปถึงหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียน โดยสามารถแจ้งความต้องการของคอร์สหรือเนื้อหาที่ต้องการอบรมเพื่อที่จะออกแบบหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม

footer-shape