th | en
th | en

โรงงานต้นแบบวิจัยแบตเตอรีวัสดุทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูง

ในปัจจุบันระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage system) นั้นมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งกับระบบพลังงานทดแทน (Renewable energy) ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เพราะจะทำหน้าที่ช่วยในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้และช่วยเพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้า และรูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่มีการประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายคือ แบตเตอรีลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้สมรรถนะที่ดีและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามแบตเตอรีลิเธียมยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บางประการ อาทิ ในเรื่องของความปลอดภัย ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความจำกัดของแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรที่ใช้

“ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช.” หรือ NSD จึงเล็งเห็นว่าการจัดตั้งโรงงานต้นแบบ วิจัยแบตเตอรีวัสดุทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูง (โรงงานต้นแบบฯ) สามารถเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Platform) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีปลอดภัยทางเลือกใหม่เพื่อความมั่นคงและการใช้งานเชิงพาณิชย์ และสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมแบตเตอรีทางเลือกในประเทศต่อไป

ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและการบริการ

The pilot plant is as original design manufacture (ODM) which can manufacture production for industrial as well as develop alternative battery product by expert. The

โรงงานต้นแบบฯ สามารถรองรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบตเตอรีทางเลือกแบบครบวงจร แห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกำลังการผลิตขนาดไม่เกิน 1 เมกกะวัตต์ (ระดับต้นแบบ) บนพื้นที่ขนาด 732.4 ตารางเมตร พร้อมบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ดำเนินการภายใต้ระบบมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพโรงงาน ISO 9001 และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แบตเตอรี มอก.2217-2548 โดยการให้บริการของโรงงานต้นแบบฯ มีรูปแบบเบื้องต้นดังนี้

  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในโรงงานต้นแบบฯ จากภาครัฐ ภาคเอกชน  และ ผู้สนใจรับบริการทุกภาคส่วน
  • ให้คำปรึกษา การผลิตสูตรและการพัฒนาแบตเตอรี และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor)
  • การบริหาร IP เช่น Fee จากถ่ายทอดเทคโนโลยี (Tech transfer : IP Licensing)
  • การฝึกอบรม / การทดสอบผลิตภัณฑ์ / MA กระบวนการผลิต


โดยในแต่ละรูปแบบจะมีวัตถุประสงค์ และข้อตกลงที่แตกต่างกัน ตามข้อตกลงและความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ผลิตภัณฑ์ที่ศูนย์ NSD กำลังวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน

1. แบตเตอรีสังกะสีไอออน (Zinc Ion Battery)  

วัสดุหลักที่นำมาใช้คือ สังกะสีและแมงกานีสออกไซด์ โดยนำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่น่าสนใจ โดยเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแล้ว แบตเตอรี่สังกะสีไอออนมีข้อดีที่เหนือกว่าในด้านความปลอดภัยและความมั่นคง เพราะเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถรีไซเคิลได้ถึง 90% ไม่ติดไฟและไม่เกิดการระเบิด อีกทั้ง “สังกะสี” ยังเป็นแร่ธาตุที่มีราคาถูกและมีมากตามธรรมชาติ จึงเหมาะแก่การนำมาประยุกต์ใช้ในระบบกักเก็บพลังงาน หรืออุปกรณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงต่างๆ เช่น ยานพาหนะ อาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ระบบไฟฟ้าสำรอง ระบบกริดไฟฟ้า รวมทั้งในการทหารและความมั่นคง

2.ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor)

เป็นการใช้​เทคโนโลยี Electric Double Layer Capacitor (EDLC) โดยใช้วัสดุที่เรียกว่า กราฟีน (Graphene) ซึ่งนำไฟฟ้าได้ดี เก็บประจุไฟฟ้าได้มากกว่าวัสดุอื่นๆ มีกําลังงานจําเพาะสูง (Power density) ทำให้ชาร์จประจุไฟฟ้าได้รวดเร็ว มีอายุใช้งานนาน มีความต้านทานเสมือนต่ำ ทำให้เมื่อต้องปล่อยประจุ ออกมาครั้งละมากๆ ส่งผลให้เกิดความร้อนน้อยจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานนอกจากนี้ยังทนทานต่อการกัดกร่อนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบสำหรับแบตเตอรีในอนาคต

3. แบตเตอรีโซเดียมไอออน (Na Ion Battery)

วัสดุหลักที่นำมาใช้คือ โซเดียม โดยนำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยข้อดีของแบตเตอรีโซเดียมไอออน คือมีต้นทุนการผลิตโซเดียมไอออนต่ำกว่าการผลิตลิเธียมไอออน มีความหนาแน่นของพลังงานสูง สามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำได้ดี อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูง สามารถนำไปใช้งานในระบบของยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

footer-shape