th | en
th | en

อีโคซิสเต็ม

โครงสร้างพื้นฐานสำหรับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา

EECi เป็นแหล่งรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ (Translational Research Infrastructure) ซึ่งเป็นคอขวดสำคัญของประเทศไทย ทำให้งานวิจัยไทยไม่สามารถพัฒนาไปถึงจุดที่จะใช้ประโยชน์ได้ โดยสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และชุมชนมา สามารถเข้าถึงบริการด้านการวิจัยพัฒนาแบบครบวงจรในลักษณะ Share Services

Biorefinery Pilot Plant

BIOPOLIS offers a multipurpose biorefinery infrastructure which is a ‘non-proprietary (generic) equipment’ platform for private and public organisations, as well as local and international universities. This biorefinery platform is designed in such a way that it allows users to re-configure the equipment line-up arrangement, and to adjust process parameters to the extreme values in order to find the optimal process conditions. This unique platform allows clients to scale up and validate to scale up and validate their laboratory scale prototype and to perform the techno-economic feasibility study before investing in a specific, dedicated industrial production line. The infrastructure will consist of two main pilot plants: a non-GMP and a GMP facility. The Non-GMP facility will serve the bio-based industry active in biochemicals, biomaterials, and other relevant bioproducts while the GMP facility will focus on applications in food, feed, cosmetics and neutraceuticals.

This multipurpose pilot plant will be the first of its kind as a sharing centre for bio-based products and processes in not only national but also ASEAN context. The plant will be a non-stop-shop providing professional knowledge, evaluation of techno-economic feasibility and risk management for relevant stakeholders. With less burden of seeking costly services abroad, clients can customize bioprocessing/biorefinery technology for each raw material and product or scale up their innovative processes or products to industrial scale with less burden of seeking costly services abroad. In addition, services will include training and capacity building programmes as well as intellectual property management in the area of biorefinery industry.

Facility
Module / Area
Non-GMP pilot plant 1. Biomass Pretreatment and Cellulosic Production Module 1 serves three functions: 1) Raw biomass storage and processing; 2) Reaction units for biomass fractionation; 3) Post-treatment to refine or purify biomass constituents from reaction units
2. Bioprocess, Fermentation & Downstream Process Module 2 accommodates the whole process chain of sterile fermentation, i.e. fermentation to downstream processes
3. Catalyst and Fine Chemical Production Module 3 provides reaction units for chemical production including catalyst synthesis and auxiliary downstream equipment to refine or purify chemicals
GMP pilot plant 1. Microbial Production Process Area 1 involves fermentation for production of functional ingredients or high-value bioproducts
2. Downstream Process and Bioconversion Area 2 offers flexible downstream processing to refine or purify the end products including formulation and encapsulation.

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน

การผลิตในอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (Industry 4.0) ต้องเท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างประชากร ระบบเศรษฐกิจที่เข้าสู่สภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ความต้องการและรสนิยมผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถที่มีอยู่แต่เดิมของผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กและขนาดกลางในห่วงโซ่การผลิตของโลก ไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมและเท่าทันกับความต้องการที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ การผลิตในช่วงเวลาต่อไปจะต้องมีประสิทธิภาพมากขั้นโดยต้องอาศัยกระบวนการผลิตกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติเพื่อลดผลกระทบจากการใช้แรงงานราคาถูกที่เข้าถึงได้ยากมากขึ้นโดยลำดับ ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต รักษาคุณภาพการผลิตให้มีความคงที่อย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่จะต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถผลิตชิ้นส่วนได้หลากหลายมากขึ้นในขณะที่จำนวนของการผลิตในแต่ละช่วงเวลาจะมีจำนวนน้อยชิ้นลงอันเป็นผลมาจากความต้องการที่หลากหลายและมีความจำเพาะมากขึ้นของผู้บริโภคแต่ละราย ในขณะที่ตัวองค์กรการผลิตเองก็ต้องมีระบบข้อมูลทางการผลิตที่ทันต่อเวลาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับภาคการผลิตอื่นในลักษณะเดียวกันที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก นอกจากนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย (End Products) ก็มีแนวโน้มในการถ่ายโอนความรับผิดชอบในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมาสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กและขนาดกลางในห่วงโซ่การผลิตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคการผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กและขนาดกลางจึงต้องมีการพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถในการวิจัยพัฒนา ออกแบบและความสามารถทางวิศวกรรมได้ด้วยตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนในภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC ภายใต้การสนับสนุนจาก EECi ARIPOLIS ถูกจัดตั้งมาด้วยวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ผนวกกับการสำรวจความต้องการที่แท้จริงจากภาคการผลิตอย่างเข้มข้น ในรูปแบบต่างๆ เช่น การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่มย่อย การศึกษาดูงานในองค์กรวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้านดังนี้

(1) ด้านการพัฒนาบุคลากร
กิจกรรมด้านการพัฒนาบุคลากรถือว่าสำคัญมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งนี้ต้องมีความครอบคลุมบุคลากรในทุกระดับตั้งแต่การสร้างความตระหนักในแนวโน้มเทคโนโลยีการผลิตในอนาคตให้แก่ผู้บริหารระดับสูง การสร้างความรู้ความเข้าใจในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงให้แก่ผู้บริหารระดับกลางและวิศวกรขององค์กร ไปจนถึงทักษะของผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต ซึ่งการพัฒนาบุคลากรนี้ต้องมีทั้งการพัฒนาในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในส่วนของการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ (Upskilling) และการทบทวนองค์ความรู้ที่จำเป็น (Reskilling)

(2) ด้านการสร้างเครือข่าย การเชื่อมโยงเทคโนโลยีและธุรกิจ (Business and Technology Matching) และการผลักดันมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม
ระบบสายการผลิตตัวอย่าง หรือ Sustainable Factory Demo Production Line และ Testbed จะประกอบไปด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยอย่างครบครัน ให้ภาคการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้มาทดสอบทดลองปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของตนเองให้เป็นระบบการผลิตกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ โดยสามารถปรับตัวแปร (Parameters) ต่างๆ จนได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ก่อนการตัดสินใจลงทุนในกระบวนการผลิตจริงที่โรงงานของตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญของศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืนให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันยังเป็นสถานที่ที่ System Integrators: SIs สามารถทำวิจัยพัฒนา ออกแบบ ผลิตต้นแบบ ทดสอบทดลอง เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความต้องการของภาคการผลิตขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและภาคการผลิตขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ซึ่งการมี SIs ที่มีขีดความสามารถสูงในประเทศถือเป็นแต้มต่ออย่างหนึ่งให้กับภาคการผลิตทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ในประเทศให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

(3) ด้านสายการผลิตตัวอย่าง และ Testbed
ระบบสายการผลิตตัวอย่าง หรือ Sustainable Factory Demo Production Line และ Testbed จะประกอบไปด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยอย่างครบครัน ให้ภาคการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้มาทดสอบทดลองปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของตนเองให้เป็นระบบการผลิตกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ โดยสามารถปรับตัวแปร (Parameters) ต่างๆ จนได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ก่อนการตัดสินใจลงทุนในกระบวนการผลิตจริงที่โรงงานของตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญของศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืนให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันยังเป็นสถานที่ที่ System Integrators: SIs สามารถทำวิจัยพัฒนา ออกแบบ ผลิตต้นแบบ ทดสอบทดลอง เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความต้องการของภาคการผลิตขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและภาคการผลิตขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ซึ่งการมี SIs ที่มีขีดความสามารถสูงในประเทศถือเป็นแต้มต่ออย่างหนึ่งให้กับภาคการผลิตทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ในประเทศให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

(4) ด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน ได้เตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรทางด้านวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ในระดับขยายผล (Translational R&I) เพื่อให้บริการแก่ SIs และภาคการผลิต ทั้งเข้าไปสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตเป็นรายโครงการตามความต้องการของ SIs และภาคการผลิต และการทำวิจัยพัฒนาในเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อการผลิตในอนาคต ทั้งนี้ถือเป็นการลดภาระของ SIs และภาคการผลิต ในการทำวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่ยังไม่มีความแน่นอนและมีความเสี่ยงสูง

(5) ด้านมาตรฐาน และบริการตรวจประเมินความพร้อมภาคการผลิต
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืนให้ความสำคัญกับมาตรฐานทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ ซึ่งถือเป็นแกนกลางในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในหลายๆภาคส่วน ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตลอดจนระบบบริหารจัดการการผลิต ให้มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือสอดคล้องกัน รวมไปถึงการให้บริการทดสอบมาตรฐานฮาร์ดแวร์ การทดสอบมาตรฐานด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งในปัจจุบันนับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในภาคการผลิต นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจประเมินความพร้อมภาคการผลิต โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ภาคการผลิตทราบถึงสถานภาพของตนว่าอยู่ในช่วงการพัฒนาใดของ Industry 4.0 และช่วยให้ภาคการผลิตทราบถึงช่องว่าง (Gap) ก่อนที่จะดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเครื่องมือ/ตัวชี้วัดการประเมินระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น SIRI (Smart Industry Readiness Index)

footer-shape