th | en
th | en

ทำไมต้อง EECI ?

จากมติคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา นั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเห็นว่า การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก จะเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และกำลังคนของประเทศและภูมิภาค เนื่องจากการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเพื่อเชื่อมโยงระบบการค้าและการขนส่งสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

จึงเสนอแนวทางการยกระดับและพัฒนา เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation เพื่อสร้างพื้นที่นวัตกรรมใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์หลักของ EECi

(1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง (Translational Research)

(2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมเดิมและสร้างอุตสาหกรรมใหม่ สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรรมในพื้นที่ควบคู่ไปกับการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับเป็นพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วประเทศ

(3) เชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมของประเทศ รองรับความต้องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ในลักษณะบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย และหน่วยงานภาครัฐ ในลักษณะการทำงานร่วมแบบ Triple Helix และขยายผลต่อยอดไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ในลักษณะการทำงานร่วมแบบ Quadruple Helix

“เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” หรือ EECi จะประกอบไปด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมที่สมบูรณ์ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่มีความเข้มข้นของงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ห้องปฏิบัติการวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ห้องทดลองภาคสนาม (Living Lab) ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบชั้นนำ โรงงานต้นแบบและโรงงานสาธิต ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังมีองค์ประกอบของระบบนิเวศนวัตกรรมและแนวทางการดำเนินงานหลักดังนี้

วัตถุประสงค์หลักของ EECi
เป็นแหล่งวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มข้น (R & I Focus) เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ไปตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่ EEC และทั่วประเทศ โดยเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย และภาครัฐ
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
ศูนย์รวมห้องปฏิบัติการวิจัยของรัฐและเอกชน (Concentration of Public & Private Laboratory) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
สนามทดสอบและการพัฒนาสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม (Scale-up, Testbeds & Living Lab, Green House, Field Demo) มุ่งเน้นขยายศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ รวมถึงโรงงานต้นแบบและโรงงานสาธิตในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมได้
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
ยกระดับอุตสาหกรรมเดิม (Existing Industry Upgrade) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ EEC และพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้สามารถพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 0 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งลดระยะเวลาและแรงงานลง
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ (New Industry Development) ที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนากำลังคนของอุตสาหกรรมและสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
กำหนดให้เป็นเขตผ่อนปรนกฏหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (Sandboxes for Regulatory Adjustment) เพื่อให้เป็นสนามทดสอบ ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ แพลทฟอร์ม และแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
สนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Startups & SMEs Support) ด้วยการบ่มเพาะผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ การเร่งสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยี รวมถึงการสนับสนุนระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการจัดตั้งชุมชนนวัตกรรมที่สะดวก และเป็นศูนย์รวมของเครือข่ายการลงทุนของนักลงทุน (Venture Capital & Angel Funding) ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
สร้างชุมชนขนาดใหญ่ของนวัตกร (Large Community of Innovators) ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกร นักคิดค้นเทคโนโลยี นักลงทุนด้านนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมระหว่างเครือข่ายนวัตกรภายในประเทศกับเครือข่ายต่างประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากบริษัทและสถาบันวิจัยระดับโลกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (Advance National Quality Infrastructure) เพื่อการตรวจสอบและประเมินตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการรับรองคุณภาพของสินค้าและบริการ และคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (Solution for Community) โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปช่วยสนับสนุนในการทำงาน และการดำเนินชีวิต รวมทั้ง ช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน
วัตถุประสงค์หลักของ EECi
แก้ปัญหาและให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรม (Solution for Industry) โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม ช่วยยกระดับอุตสาหรรมด้วยนวัตกรรม ช่วยยกระดับกระบวนการผลิตให้สามารถพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งลดระยะเวลาและแรงงาน
footer-shape